วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 16

- อาจารย์เช็คชื่่อนักศึกษา

- อาจารย์แจกกระดาษให้เขียนถึงข้อดี ข้อจำกัด ประโยชน์ ของแท็บเล็ต สำหรับเด็ก ป.1

- อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนโดความคิดที่แปลกใหม่ ไม่ใช่แค่เขียนบรรยายและอธิบายความ

  เช่น การเขียนผัง การเขียนตาราง การบรรยาย

- การนำเสนอเหล่ามากจากการอบรม การสัมนา จากสื่อต่าง ๆ

- อาจารย์อธิบายถึงการทำบล็อกที่ช่วยนำเข้ามาใช้ในการสอน

- อยากนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน

- ลดภาวะโลกร้อน โดยการไม่ใช่กระดาษทำแฟ้มสะสมผลงาน

- บล็อกสามารถเชื่อมโยงกับสื่อต่าง ๆ ได้

- เมื่ออธิบายเรื่องบล็อกเสร็จ อาจาย์แจกสติ๊กเกอร์ใสให้นักศึกษาแปะลงปฏิทิน


แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา






วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 15

- อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษา

- อาจารย์ชี้แจงคะแนนแต่ละงาน

- อาจารย์เปิดบล็อกของแต่ละคน และให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขให้ดีและถูกต้อง

- อาจารย์ให้ลิ้งรายชื่่อทั้งหมดของกลุ่ม 123

- อาจารย์ลิ้งงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาษาเด็กปฐมวัย

- อาจารย์ให้ศึกษาเพิ่มเติมเนื้อนอกห้องเรียนโดยใช้สื่อต่าง ๆ และบันทึกลงบล็อก

VDO Powerpont ที่เรานำเสนอก็ใส่ในบล็อกด้วย

- ถ้าปรับปรุงแก้ไขตามที่อาจารย์แนะนำ คะแนนบล็อกก็จะได้คะแนนที่ดี

สร้างนิสัยรักการอ่านในเด็กปฐมวัย ( ครูมู )




สรุป

นิทานพัฒนา EQ

                EQ (Emotional Quotient) เป็นความฉลาดทางอารมณ์ ที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่าง

สร้างสรรค์  และมีความสุข  (เข้าใจตนเอง + เข้าใจผู้อื่น + แก้ไขความขัดแย้ง)

 นิทานช่วยพัฒนา

- ภาษา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ

- เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม

- สานสายใยครอบครัว

- ปลูกฝังให้รักการอ่าน

- สนุกสนาน เพลิดเพลินและมีสมาธิ

               สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ที่เหมะสมในแต่ละช่วงวัยและ

จากสิ่งที่ได้อ่าน  ได้ฟังยังใช้เป็นแนวทางที่จะช่วยให้  สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เด็กอยู่

ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจและมีความสุข


การเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันนี้ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2555 เวลาเรียน 08.30-12.20

-วันนี้นักศึกษาทุกคนรออาจารย์อยู่ที่ห้อง รอได้ซักพัก เเล้วก็มีเพื่อนขึ้นมาบอกว่าให้เพื่อนที่เรียนกับอาจารย์ไปหาอาจารย์ข้างล่าง

ตึกคณะ  และจารุวรรณลงไปหาอาจารย์แล้วก็นำกล้อง VDO มาถ่ายในการเล่านิทานของแต่ละคู่

- อาจารย์ได้ถามเเละได้บันทึกไว้ว่าใครบ้างที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ 

เพื่อนทุกคนก็มีทั้งความสามารถแะละไม่มี แต่ทำไมถึงให้อาจารย์ต้องถามย้ำหลายๆรอซึ่งเรื่องแบบนี้มันเป็นเรื่องของตัวเราเอง 

เราต้องมีข้อมูลที่สุดแล้ว  ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นมาถามซ้ำ หรือถามคำ ตอบคำ

- อาจารย์พูดถึงอาเซียนว่าเราจะสอนอาเซียนให้กับเด้กได้อย่างไร พวกเราต่างก็ร่วมตอบกันทุกคน เช่น การวาดภาพ ระบายสี 

การร้องเพลง สอนภาษาสื่อออกมาโดยลักษณะท่าทาง การเเสดงออก

- อาจารย์ก็ได้พูดถึงว่าการเรียนที่มีการปรับปรุงและพัฒนาทำไมนักศึกษาไม่พัฒนาเลยสมุดบันทึกก็ไม่มี การทำงานต้องมีหลัก

ฐาน คะเเนนอาจารย์ให้ทุกคน 100 คะเเนนแต่ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะสามารถรักษามันไว้มากน้อยเเค่ไหนเององค์ความรู้

- การจัดประสบการณ์ต้องสอดค้องกับพัฒนาการของเด็และวิธีการเรียนรู้

- วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือการลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และกระทำอย่างอิสระ


การเล่านิทาน เรื่อง บ้านแสนสุข ( เล่าไป พับไป )



สะท้อนหลังการเรียน

- ได้รับความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียน

-สามารถเล่านิทานแบบเล่าไป พับไป ผ่านไปได้อย่างโดยดี

-รับรู้ในความสามารถของเพื่อน ๆ

-การเรียนที่ดีควรจดบันทึกความรู้ต่าง ๆ เพื่อเป็นในความเข้าใจของเรา



ภาษาง่าย ๆ ในประเทศอาเซียน




การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรม





สรุป



              "การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน" ของ ดร.นฤมล เนียมหอม เด็กๆ

 จะเลือกนิทานเองจากนั้นคุณครูจะนำนิทานที่เด็ก ๆ เลือกมาประยุกต์ใช้ในการคิดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ


การเข้าเรียนครั้งที่ 13


วันนี้ วันที่ กันยายน พ.ศ.2555 เวลาเรียน 08.30-12.20  

- อาจารย์เช็คชื่อภายในห้องเรียนตามปกติ

- อาจารย์ได้บอกว่า วันเสาร์ที่ 8 กันยายนนี้ จะมีการสัมมนาเกี่ยวกับนิทานโดยมีครูมูเป็นคนมาให้ความรู้ และอาจารย์ได้ถาม

ว่ามีใครบ้างที่สามารถมาได้และถามเหตุผลถึงคนที่มาไม่ได้ ว่าเพราะอะไร

- อาจารย์ให้ไปเอาสีและเพจตัวหนังสือที่ห้องอาจารย์มาแจกคนละชุด

- เอางานสื่อที่ทำจากปฏิทินให้อาจารย์ได้ดูเเละยังมีตรงจุดไหนที่ยังต้องแก้ไขอยู่

- หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้เข้าไปร่วมฟังเทศน์ในช่วงก่อนที่จะเที่ยงในงานวันสถาปณามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมครบรอบ 

72 ปีภาพบรรยากาศของการเข้าฟังเทศน์เนื่องในวันสถาปณามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมครบรอบ 72 ปี

- การเล่านิทานเป็นกิจกรรมศิลปะ


- กิจกรรมที่ต้องมีในเเต่ละอาทิตย์ คือ ต้องมีการเล่าข่าว การโฆษณา ประชาสัมพันธ์การเซ็นชื่อมาเรียน


- เด็กจะได้เห็น และได้ดูรูปแบบเเละลักษณะการเขียนจากครูผู้สอนเเละเด็กจะเกิดการเลียนแบบ



- มุมประสบการณ์ต้องจัดนิทาน บอร์ด หูฟัง วิทยุ

- กิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เกม ร้องเเละเต้น

- การเล่นต้องเล่นจาก  ของจริง----->ภาพ----->สัญลักษณ์----->นามธรรม

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการสัมผัสจริง

- การได้ไปฟังพระเทศน์ก็เป็นภาษาที่สื่อสราวิธีหนึ่งเช่นเดียวกัน








หมายเหตุ : ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมนิทานในวันอาทิตย์ได้ เพราะ ติดธุระ



สื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ สำหรับเด็กปฐมวัย




สรุป

        การสอนในแต่ละครั้งคุณครูต้องเตรียมความพร้อมที่จะมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็ก โดยเฉพาะ

สื่อการสอนเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสื่อประกอบกิจกรรมครู หรือสื่อที่ใช้กับเด็ก

และสภาพแวดล้อม ล้วนแล้วเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งในที่เด็กจะมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ

เช่น พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน พัฒนาการทางด้านภาษา ฯ ล ฯ เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555



การเข้าเรียน ครั้งที่ 12

- พออาจารย์เข้ามาก็เช็คชื่อ

- แล้วให้แต่ละกลุ่มคิดคำขวัญรณรงค์สุรา

กลุ่มที่1 สุราเป็นยาเสพติด  พวกเราอย่าหลงผิดคิดติดมันเลย (ส้ม ภา)
กลุ่มที่ 2เก็บเงินใส่ขวด ดีกว่าเจ็บปวดเพราะเป็นตับแข็ง( มะปราง)
กลุ่มที่ 3 สุราเป็นยาพิษ ดื่มนิดๆก็ติดใจ
กลุ่มที่ 4 ดื่มสุราเหมือนฆ่าชีวิต คิดซักนิดก่อนจะดื่ม ( ฝน ริตา)
กลุ่มที่ 5 สุรานั้นทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดไปลอง(แอน แป้ง)
กลุ่มที่ 6 สุราใช่มีค่า อย่าสรรหามันมาลอง เราควรคิดไตร่ตรอง อย่าได้ลองดื่มสุรา( กิ๊ฟ ซะห์)
กลุ่มที่ 7 สุราไม่ใช่พ่อ แล้วจะไปง้อมันทำไม ( แก้ม เบลล์)
กลุ่มที่ 8สุราน่ารังเกลียด ทำให้แครียดจนมึนงง เราควรจะต้องปลง อย่าไปหลงลองมันเลย ( ศิ หนูนา)
กลุ่มที่ 9สุราคือน้ำเมา จะทำเราเสียชีวิต จึงควรคิดให้ดี ก่อนจะติดจนตัวตาย ( ปูนิ่ม นุ่น)
กลุ่มที่ 10 ดื่มสุราวันละนิด แค่คิดก็เสี่ยงแล้ว (โอม โอ)
กลุ่มที่ 11 เสียเหงื่อเพื่อกีฬา ดีกว่าเสียเงินตรา ให้กับค่าเหล้า (แอน วาว)
กลุ่มที่ 12 สุรากินแล้วเมา กลับบ้านเก่าก่อนใครๆ (หลัน จ๋า)
กลุ่มที่ 13 ดื่มนมเพื่อสุขภาพ ดีกว่าดื่มน้ำเนาเพื่อมรณภาพ (สา กุ้ง)
กลุ่มที่ 14 สุราลองแล้วติด อย่าได้คิดติดมันเลย (ซาร่า แก้ว)
กลุ่มที่ 15 รักชีวิต อย่าคิดดื่มสุรา ( กวาง เมย์)
กลุ่มที่ 16 สุรานั้นไม่ดี มีทั้งพิษและมีภัย ดื่มแล้วก็ติดใจ เงินรั่วไหลหมดกระเป๋า (บี รัตน์)
กลุ่มที่ 17 ถ้าไม่อยากตายไว ต้องห่างไกลผิดสุรา( แอม อ้อม)


อาจารย์ให้ดูการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด                                          

ซึ่งเขียนโดย นฤมล เนียมหอม

- แนวคิดที่ได้จากนิทาน

1. การยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น และยอมรับความแตกต่างของตนเองที่ไม่เหมือนผู้อื่น

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ดร.นฤมล เนียมหอม จากแนวคิดพื้นฐานที่ว่า "นิทาน" 

เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก การนำนิทานมา

เป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ จึงเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณครู

แมว ดร. นฤมล เนียมหอม จึงได้คิดองค์ความรู้ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานโดย

เริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย จนมาทำเป็นเต็มรูปแบบในโรงเรียนทุ่งมหาเมฆตั้งแต่ปี 2550 โดยในขั้นตอนการเรียนรู้

เด็ก ๆ จะเป็นผู้เลือกนิทานด้วยตัวเอง จากนั้นคุณครูจะนำนิทานที่เด็ก ๆ เลือกมาประยุกต์ใช้ในการคิดกิจกรรมเพื่อการ

เรียนรู้ของเด็ก ๆ ทั้ง 6 กิจกรรม วิธีนี้จะทำให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนรู้เหมือนอยู่ในโลกนิทานตลอดทั้งวัน

2. การช่วยเหลือที่ต้องมีในสังคมเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง

- อาจารย์ได้พูดถึงเกมว่ามีอะไรบ้าง

1. เกมจับคู่
2. เกมโดมิโน
 3.เกมล็อตโต
 4. เกมสำคัญ 2 แกน
5. เกมอุปมา อุปไมย
6. เกมอนุกรม

- การเล่านิทานมีหลายเเบบ คือ 

1.เล่าไปตัดไป
2. เล่าไปวาดไป
3. เล่าไปฉีกไป
4. เล่าไปพับไป
5. เล่าด้วยเชือก

- อาจารย์ให้กุล่มที่ทำงานปฎิทิน แล้วมาหาวิธีที่จะเลือก วิธีการต่างๆเหล่านี้มาเล่าให้อาจารย์ฟังในคาบหน้า

อบรมในวันอาทิตย์ เรื่อง การตัดดอกไม้


ในวันอาทิตย์ต้องไปที่มหาวิทยาลัย วันนี้มีการอบรมที่มหาวิทยาลัยในเรื่อง การตัดดอกไม้   ใบไม้เพื่อจัดบอร์

อาจารย์นัด 09.00น. มาถึงก็เลยขอเวลาทานข้าวสักพักเเล้วก็พากันรีบเข้าห้องศูนย์ครูมาถึงก็ทั้งเพื่อน เเละรุ่นพี่

 ก็มาเยอะเเล้วทำไม่ทันคนอื่นๆ วิทยากรเลยให้ออกไปนั่งใกล้วิทยากรสอนทำดอกพุทธรักษาที่สวยงามพวกเรา

ก็สามารถทำทันจนได้เเละสวยงามด้วยสำหรับขั้นตอนเเรกในการทำคือ

1. พับกระดาษเป็นสามเหลี่ยมตัดส่วนที่เหลือทิ้ง พับทบกันให้ได้ 3 ทบ

2. จากนั้นก็ให้ตัดกระดาษเพื่อเป็นกลีบ ดอกควรที่จะตัดซิกเเซกนิดหนึ่ง เพื่อความสวยงาม

3. แล้วก็คลี่มันก่อน จากนั้น ก็เอาสีเมจิกสีอะไรก็ได้มาแต้มภาพ

4. ใช้กรรไกร







การเข้าเรียน ครั้งที่
11

- อาจารย์ได้วางแผนร่วมกับนักศึกษาว่าจะนัดกันมาเรียนเพิ่มเติมกันวันไหน

- อาจารย์ให้บอกชื่อผลไม้ที่ตนเองชอบมา คนละหนึ่งอย่าง ห้ามซ้ำกันแล้วเวลาอาจารย์ถามก็ตอบ จากนั้นก็ให้ตอบของ

เพื่อนคนที่อยู่ข้างๆ

- อาจารย์ให้ยกตัวอย่างการใช้ประโยคขอร้อง

อาจารย์ให้หยิบสิ่งของที่มีค่าที่สุด พร้อมบอกเหตุผล เราเอาโทรศัพท์เพราะว่า แม่เป็นคนที่ซื้อให้เรากว่าเขาจะเก็บเงิน

จำนวนมากนี้ได้ก็ต้องใช้เวลาเเละความอดทน  อาจารย์ให้ทำกิจกรรมนี้เพราะว่า จะทำให้เห็นทักษะทางภาษาจากการพูด

ของเด็กเป็นการพัฒนาทางด้านภาษาสำหรับเด็ก


นี่คือภาพที่หนูวาดคือ หัวคน กับ ลำโพง เป็นหัวลำโพง

- อาจารย์ให้เขียนเป็นภาพอะไรก็ได้และให้เพื่อนทาย

- จากนั้นก็ได้วาดภาพอีกภาพหนึ่งเป็นภาพอะไรก็ได้คนละ 1ภาพ และให้ออกไปหน้าชั้นเรียนทั้งกลุ่มยืนเรียงกันเป็น

หน้ากระดานเเละให้เล่าเป็นเรื่องราวจากภาพที่วาดของเเต่ละคนโดย

หนูวาดภาพอุลตราแมนแล้วก็เล่าเรื่องเริ่มต้น จนจบได้ด้วยดี   จากคนเเรกเป็นคนเริ่มเรื่องและจบคนสุดท้ายให้ได้     

งานในคาบนี้

1.ให้คิดโฆษณาของตัวเอง (โฆษณากระเป๋า) 

กระเป๋าเล็กกะทัดรัด  สีสันสดใส  ถ้าคุณซื้อภายใน 15 นาที  จากใบละ 120 บาทเราลดเหลือ 59 บาท  ย้ำ 59 บาท  ช้าหมด

แล้วจะอดนะค่ะ

 2.ให้ไปคิดคำประชาสัมพันธ์   ในวันอาทิตย์ที่26 สิงหาคมนี้ เวลา 09.00น. -16.00น. นะค่ะจะมีท่านวิทยากรที่เชี่ยวชาญ

ด้านการจัดบอร์ด การตัดดอกไม้ ดอกต่างๆ จากเศษวัสดุที่เหลือใช้ซึ่งเหมาะกับครูปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง มากันเยอะๆนะค่ะ














วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555



การเข้าเรียนครั้งที่ 10


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์จินตนา  สุขสำราญ  ไปราชการที่จังหวัดนครราชศรีมา

แต่ได้มอบหมายงานไว้ คือ การทำสื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ( ปฏิทิน )

จึงมีการเรียนการสอนตามปกติในวันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2555

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 9


- อาจารย์เช็คชื่อการเข้าเรียนในคาบนี้

- อาจารย์ให้กลุ่มที่ค้างงานใน งานการสัมภาษณ์เด็ก และงานการเล่านิทาน กลุ่มใดที่ยังไม่พรีเซนงานให้มารพรีเซนให้

เรียบร้อย เเละอาจารย์ก็ได้ให้คำเเนะนำต่างๆเช่นเดียวกัน คือ   เมื่อเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ต้องออกมานำ


เสนองานก็ต้องมีความพร้อมที่สุด งานที่ออกมาต้องออกมาดีที่สุดเพราะเป็นกลุ่มสุดท้าย   และได้ฟังคำเเนะนำจากกลุ่มที่

ผ่านมาเยอะเเล้วควรที่จะนำเอามาปรับปรุงงานของตนเอง เเละการทำงานกลุ่มไม่ใช่งานคนเดียว ต้องทำร่วมกัน ทุกคน

ไม่ใช่แบ่งทำ ใครทำไม  เเละขณะอาจารย์ยังไม่มา ควรที่จะมีการเตรียมคอมพิวเตอร์ เตรียมโปรเจคเตอร์ไว้เผื่ออาจารย์เข้า

มาจะได้พร้อมที่จะนำเสนอทันทีไม่เสียเวลา


- เมื่อนำเสนอเสร็จเเล้ว ก้ได้มาพูดถึงปฏิทินที่ได้เตรียมเอามา ว่าเอามาทำสื่อการเรียน การสอน ในการสอนภาษาสำหรับ

เด็กได้บ้าง     




 - เราเรียนครูปฐมวัยต้องทำให้เด็กมีวิธีการเรียนรู้ ของเด็กตามทฤษฎีของเพียเจท์ทางสติปัญญาทำให้เด็กได้สัมผัสจริง

การเรียนรู้ การเรียนการสอนของเด็กมาจากหลักสูตรเรียนที่ต้องเรียนเป็นหน่วย คือ
 1หน่วยตัวฉัน

 2 สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา

 3ธรรมชาติ

 - อาจารย์เอานิทานตัวอย่างให้ดู ที่ทำเป็นนิทาน อะไรเอ่ย
สั่งงาน

1. ให้ทำคำศัพท์ ที่ขึ้นต้นด้วย ก ข ค ง จ ช ด ต ท น บ ป พ ม หาคำศัพย์ เช่นถ้าจับฉลากได้    ข   ก็ให้หาคำที่ขึ้นต้นด้วย
ข  เช่น  ไข่  ขอนไม้  ขวด  เป็นต้น


 3. แล้วตัวหนังสือต้องประมาณซัก 5 บรรทัดปกติ

  4. ให้ทำลงในปฏินทิน  ตามขนาดที่ได้หามา จำนวนคำก็เเล้วแต่ตามความเหมาะสม

  5. หน้าสุดท้ายของปฏิทินให้ทำเป็น MY MAP

  6. กำหนดส่งงานคือ วันที่ 22 สิงหาคม 2555 ในคาบเรียน









วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 8

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากมีการสอบกลางภาค


การเข้าเรียนครั้งที่ 7


-อาจารย์ให้นำเสนองานที่ได้รับมอบหมายไปตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว ในเรื่อง  บันทึกพฤติกรรมทาง

ภาษาของเด็กจากนิทานคือ ให้รับผิดชอบนิทาน ที่จับฉลากได้ ไปร่วมกันอ่าน และให้น้องฟังตามชั้น

เรียนที่ได้ แล้วบันทึกพฤติกรรมตามความจริง

-   กลุ่มเราได้ออกไปนำเสนองานกลุ่มแรก งานที่ได้รับผิดชอบคือ นิทาน BIG BOOK กับน้อง

อนุบาล 3 นิทานที่เล่าคือ กระต่ายกับเต่า

                                 


                                  


                                        

  ข้อเเนะนำ

-   นิทานที่ยกมาเล่านั้น ไม่ค่อยมีความน่าสนใจ เพราะน้องเคยฟังมาแล้ว อาจทำให้เราวิเคราะห์
พฤติกรรมน้องไม่ได้ น้องอาจจะตอบคำถามที่เราถามจากที่คุณครูเคยคุยกับน้องมาแล้ว ควรเลือก
นิทานที่มีความสนใจมากกว่านี้
-   พยายามทำงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่สั่ง

คำชมจากอาจารย์

-   บันทึกพฤติกรรมมาได้เป็นอย่างดี มีความละเอียด และถูกต้อง
-   คำถามที่ใช้ในการถามดี ช่วยให้เด็กได้พูดเยอะๆ จะทำให้เราสามารถเห็นภาษาพูดของเด็กได้

ร่วมกันเเสดงความคิดเห็น

จากการสัมภาษณ์น้องสะท้อนอะไร ?
- สะท้อนสมาธิของเด็ก
ถ้าจะวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมเด็กควรวัยจากอะไร ?
-  ลักษณะตามวัย
-  พัฒนาการตามวัย

กลุ่มที่ 2 นำเสนอนิทานธรรมดา
 
กลุ่มที่ 3 นำเสนอนิทานออนไลน์
 
กลุ่มที่ 4 นำเสนอนิทาน BigBook เรื่อง พระอาทิตย์ไปเที่ยว
 
กลุ่มที่ 5 นำเสนอนิทานออนไล เรื่อง สุนัขกับเงา
 
กลุ่มที่ 6 นำเสนอนิทานธรรมดา เรื่อง น้องหายไปไหน
 
กลุ่มที่ 7 นำเสนอนิทาน  BigBook เรื่อง ดุ๊กดุ๋ยสำนึกผิด
 
* กลุ่มที่ 8 ไม่ได้นำเสนองาน เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มมาไม่ครบ

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 6


-อาจารย์พูดถึงการวัดผล การประเมินผลของนักศึกษา

-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มแล้วออกไปจับฉลากประเภทนิทานทั่วไป  Big Book  นิทานออนไลน์

เมื่อจับได้ประเภทไหนก็นำไปเล่าให้เด็กฟังตามอายุของเด็กที่จับได้แล้วบันทึกพฤติกรรมของเด็ก

โดยมีการสัมภาษณ์ และชวนน้องพูดคุย

-การบันทึกให้มีรายละเอียดต่าง ๆ คือ ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่้น อายุ โรงเรียนที่ศึกษา

-ให้นำทฤษฎีมาอ้างอิงและเปรียบเทียบกับพฤติกรรมเด็ก

-นำเสนอในสัปดาห์หน้า และควรเตรียมพร้อมในการนำเสนอมาอย่างดี เช่น มีสคริป และมีบุคลิกภาพ

ที่ดีมีคำพูดที่ชัดเจน ใช้ภาษาอย่างถูกต้อง

-อาจารย์ให้นำเสนองานสัมภาษณ์เด็กที่ค้างในสัปดาห์ก่อน

-อาจารย์ได้แนะนำในวิธีการนำเสนองานที่ดี

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 5


กลุ่มของดิฉันได้นำเสนองานที่ได้ไปสัมภาษณ์ ด.ช.ภูบดินทร์  วรรณวงษ์ น้องบอส อายุ 8 ปี








อาจารย์สอนวิธีการพูดหน้าชั้นเรียน  และห้ามใส่อารมณ์ลงไป เช่นคำว่า "อาจจะ"  ห้ามพูดตอนนำเสนอ

ให้พูดพฤติกรมของน้องที่เราเห็น

-ให้วิเคราะห์การสัมภาษณ์เด็ก ( เน้นอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็ก )

-ใน powerpoint มีสรุปเกี่ยวกับความเห็นของเรา
-มีบุคลิกภาพน้องใน PowerPoint

-วิเคราะห์การใช้ภาษา

-ในกลุ่มควรมีคนจดบันทึกข้อเสนอแนะ เพื่อปโพสในบล็อก

-การนำเสนอแบบสบาย ๆ แต่ใช้วิจารณยานในอาจารย์สอน

-การแสดงสีหน้าในการนำเสนอและการรับฟังอาจารย์ผู้สอน

-พยายามสร้างบรรญากาศในการนำเสนอให้มี Character


อาจารย์ได้นำเสนอเพลงต่าง ๆ ให้ดู ยกตัอย่าง

เพลงแมงมุม ( มีท่าทางประกอบ )

              แมงมุมลายตัวนั้น ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน        วันหนึ่งมันถูกฝน ไหล่หล่นจากบนหลังคา
 

              พระอาทิตย์ส่องแสง ฝนแห้งเหือดไปลับตา           มันรีบไต่ขึ้นฟ้า หันหลังมาทำตาลุกวาว

อาจารย์ให้นักศึกษาแต่งเพลงพร้อมมีท่าประกอบ และให้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน


เพลง นมวัว ขวดใหญ่
                                              นมวัว นมวัว ขวดใหญ่      เก็บเอาไว้อยู่ในตู้เย็น
                                                            หนูน้อยก็ผ่านมาเห็น ( ซ้ำ )
                                             เปิดตู้เย็นหยิบกินนมวัว      แข็งแรง แงแรง อร่อยดี